วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลายี่สก - Seven-striped barb

ปลายี่สก เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae ชื่ออังกฤษ: Seven-striped barb, Julian's golden carp

ปลายี่สก
รูปปลายี่สก

ปลายี่สก เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม

พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง, ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในรัฐปะหัง ของมาเลเซียอีกด้วย 

ปลายี่สก มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "เอิน" หรือ "เอินตาแดง" ในภาคอีสาน "ยี่สกทอง" หรือ "อีสก" หรือ "กะสก" ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า "ปลาเสือ" เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ ปลายี่สก กลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม สำเร็จขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่ทำเป็นป้ายบอกชื่อถนนในตัวอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพราะเคยเป็นถิ่นที่ได้ชื่อว่ามีปลายี่สกชุกชุมในอดีต

ขอบคุณข้อมูลปลายี่สกและรูปภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%81


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น