วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลายี่สก - Seven-striped barb

ปลายี่สก เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae ชื่ออังกฤษ: Seven-striped barb, Julian's golden carp

ปลายี่สก
รูปปลายี่สก

ปลายี่สก เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม

พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง, ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในรัฐปะหัง ของมาเลเซียอีกด้วย 

ปลายี่สก มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "เอิน" หรือ "เอินตาแดง" ในภาคอีสาน "ยี่สกทอง" หรือ "อีสก" หรือ "กะสก" ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า "ปลาเสือ" เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ ปลายี่สก กลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม สำเร็จขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่ทำเป็นป้ายบอกชื่อถนนในตัวอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพราะเคยเป็นถิ่นที่ได้ชื่อว่ามีปลายี่สกชุกชุมในอดีต

ขอบคุณข้อมูลปลายี่สกและรูปภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%81


ปลากระเบนโปลกาด๊อท หรือ โพกาด็อท - Xingu river ray

ปลากระเบนโปลกาด๊อท เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Potamotrygon leopoldi ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวรูปร่างทรงกลม พื้นลำตัวสีดำสนิท มีจุดกลมสีขาวกระจายไปทั่วลำตัวด้านบน ด้านล่างสีขาว ปลายหางมีริ้วหนังบาง ๆ ซึ่งจุดกลมเหล่านี้มีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในปลาแต่ละตัว

ปลากระเบนโพกาด็อท
รูปปลากระเบนโพกาด็อท

มีขนาดลำตัวโตเต็มที่ราว 43 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำซิงกู ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำอเมซอน ในประเทศบราซิลเท่านั้น

ได้รับความนิยมในฐานะเป็นปลาสวยงาม โดยมีรหัสทางการค้าว่า P13 ซึ่งผู้เลี้ยงมักนิยมเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่และเลี้ยงรวมกันหลายตัว และสามารถผสมพันธุ์กันออกลูกในที่เลี้ยงได้ อายุเมื่อปลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์คือ 5 ปี และยังสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กับปลากระเบนชนิดอื่นในสกุลเดียวกันได้ด้วย เช่น ปลากระเบนโมโตโร่ (P. motoro) ทำให้เกิดลูกปลาสายพันธุ์ใหม่ที่จะได้จุดและสีสันลำตัวแปลกออกไป ส่วนสถานะปลาในธรรมชาตินั้นใกล้สูญพันธุ์แล้ว เนื่องจากสูญเสียที่อยู่อาศัย

สำหรับในวงการปลาสวยงาม ปลาในตัวที่มีจุดสีขาวมากกว่าปกติ โดยมีจุดรอบขอบครีบถึง 3 แถว เรียกว่า "แบล็คไดมอนด์" เป็นปลาที่ในธรรมชาติ จะพบได้ที่แม่น้ำเซาเฟลิก ในเขตประเทศบราซิล มีราคาซื้อขายแพงกว่าปลากระเบนโปลกาด็อท ธรรมดามาก

ขอบคุณข้อมูลปลากระเบนโพกาด็อท จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%97


วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลากราย - Clown featherback

ปลากราย

ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนักถึง 15 กิโลกรัม

ปลากราย
รูปปลากราย
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากราย นับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลและรูป จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลาสอด - Molly

ปลาสอด (อังกฤษ: Molly, Moonfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Poecilia latipinna) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliida)

ปลาสอดเป็นปลาพื้นเมืองดั้งเดิมมาจากเม็กซิโกจนถึงเวเนซุเอลา ที่สีสันในธรรมชาติจะเป็นสีน้ำเงินทึม ๆ หรือสีเขียววาว ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่สวยกว่าตัวเมีย รวมทั้งครีบต่าง ๆ ที่ใหญ่ยาวกว่า ขณะที่ลำตัวของตัวเมียนั้นจะใหญ่กว่า ท้องอูมป่องกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นฝูง โดยกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย, พืชน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงต่าง ๆ เช่น ลูกน้ำ เป็นต้น โดยบางครั้งอาจพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อย

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1907 ได้มีการนำเข้าปลาสอดจากเม็กซิโกเข้าไปในเลี้ยงในฐานะปลาสวยงามที่ประเทศเยอรมนี จากนั้นจึงแพร่ต่อไปยังสหรัฐอเมริกา มีการเพาะขยายพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์จนได้สายพันธุ์ใหม่ ที่สวยงามและมีลักษณะต่างจากปลาในธรรมชาติอย่างน้อย สายพันธุ์ เช่น "เพลตี้" ใช้สำหรับเรียกปลาสายพันธุ์ที่มีสีทองทั้งตัว

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1965 ปลาสอดได้รับการผสมเพื่อให้ได้สายพันธุ์แปลก ๆ จากเดิมที่มีลักษณะ โดยเฉพาะได้สายพันธุ์ที่มีครีบหลังสูงใหญ่คล้ายใบเรือ เรียกว่า "เซลฟิน" ถือเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก แต่ลูกที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยเหมือนพ่อแม่ กลับไปเหมือนบรรพบุรุษดั้งเดิมของคือ มีกระโดงครีบหลังสั้นและเล็กเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะปลาสอดเซลฟินไม่ใช่สายพันธุ์แท้ แต่เป็นพันธุ์ผสมหรือพันทาง อย่างไรก็ตามปลาสอดเซลฟินคู่ที่ดี อาจจะให้ลูกสายพันธุ์แท้คือมีกระโดงใหญ่เหมือนพ่อแม่ ได้ประมาณร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 90

และก็ยังมีสายพันธุ์ที่มีสีดำทั้งตัว เรียกว่า "มิดไนต์" เป็นต้น ในปัจจุบันยังมีปลาสายพันธุ์ที่พิการ โดยที่มีลำตัวสั้นอ้วนกลมคล้ายลูกบอล แต่นิยมเลี้ยงกันเรียกว่า "ปลาบอลลูน"

ปลาสอดจะเติบโตได้ดีและให้ลูกได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในระดับอุณหภูมิอย่างต่ำที่สุด 22 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ 24 องศาเซลเซียส โดยปลาจะให้ลูกได้ดีที่สุด เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส ปลาตัวเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะออกลูกทุก ๆ 4 สัปดาห์ ปกติจะออกลูกคราวละ 2-200 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะออกลูกคราวละ 20 ตัว

ขอบคุณข้อมูล จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94